การปฐมพยาบาลผู้ที่จมน้ำ

วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เอกสารอ้างอิง

       1.วราภรณ์ บุญเชียง. (2556). การรักษาพยาบาลโรคเบื้องต้น. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
        2.สุรชาติ สิทธิปกรณ์. (2559). การดูแลสุขภาพบุคคลและชุมชน. มหาสารคาม: สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  3. วิภาพร วรหาญ. (2549). การปฐมพยาบาลและการพยาบาลฉุกเฉิน.ขอนแก่น : สำนักพิมพ์ขอนแก่นการพิมพ์.
       4. แพทย์หญิงพันทิวา สินรัชตานันท์. (2550). คู่มือ ปฐมพยาบาล Guide to Self-Care (ชุดชีวิตและสุขภาพ). กรุงเทพฯ: อมรินทร์.
  5. วิลาวัณย์ เตือนราษฎร์วราภรณ์ บุญเชียง. (2556). การรักษาพยาบาลโรคเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
  6. สถานบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ คู่มือปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน สำหรับชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น พ.ศ. 2554
  7. สภากาชาดไทย คู่มือปฐมพยาบาล (First Aids Manual) 2553
  8. คู่มือบำบัดอาการปวดเมื่อยด้วยตนเอง. กรุงเทพ : วิทยสถาน, 2553
  9. วิจิตรา กุสุมภ์./(2551).
  10. การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต/ครั้งที่พิมพ์ 3 /กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล สหประชาพาณิชย์. มรรยาท ณ นคร./(2550).

การปฐมพยาบาลผู้ที่เป็นโรคลมปัจจุบันหรือโรคสมองขาดเลือด

              โรคลมปัจจุบัน คือ ภาวะสมองขาดเลือด เกิดเนื่องจากระบบไหลเวียนเลือดในสมองผิดปกติทำให้สมองขาดเลือดมาหล่อเลี้ยง และหารปล่อยให้สมองขาดสารอาหารที่จำเป็นนานติดต่อกันถึง 4 นาทีเซลล์สมองจะเริ่มตาย ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
โรคลมปัจจุบัน มี 2 ประเภท
             อัมพฤกษ์
     เกิดจากการเป็นโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งเกิดจากการมี ตะกรันคอเลสเตอรอลมาเกาะที่ผนังหลอดเลือดแดงจนหนาขึ้น เลือดไหลเวียนได้ช้าลง และส่งผลให้ลิ่มเลือดมาอุดตันได้ง่าย เรียกว่า  อัมพฤกษ์ หรือ ทีไอเอ (TIA:transient ischemic attack) คือเป็นอัมพาตชั่วขณะ อาการจะเป็นอยู่ช่วงสั้นๆ เพราะขณะที่เกิดอาการดังกล่าว ร่างกายจะหลั่งเอนไซม์บางชนิดออกมา ทำให้ลิ่มเลือดละลายจนเลือดสามารถไหลเวียนได้สะดวกเหมือนเดิม
             อัมพาต
สาเหตุเกิดจากหลอดเลือดในสมองแตกหรือฉีกจาดบางส่วน จนเกิดเลือดคั่งบริเวณเนื้อเยื่อสมอง ทำให้เนื้อเยื่อสมอง (ส่วนที่เลือดนั้นไปเลี้ยง) ถูกทำลาย และทำให้เซลล์สมองส่วนอื่นถูกทำลายไปด้วยได้เพราะขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง
           ปัจจัยเสี่ยง ที่ควบคุมได้ ได้แก่
                     1.ความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุของโรคลมปัจจุบันประมารร้อยละ 40 ในที่นี้หมายถึงคนที่มีค่าความดันช่วงบน มากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท และมีค่าความดันช่วงล่าง มากกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท
                      2.การสูบบุหรี่ มีโอกาสเป็นมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ถึงร้อยละ 50
                      3.โรคหัวใจ นอกจากโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแข็งที่ทำให้เป็นโรคลมปัจจุบันได้แล้ว โรคเสี่ยงอื่นๆ คือ โรคหัวใจล้มเหลวเลือดคั่ง ภาวะหัวใจล้ม โรคลื้นหัวใจรั่วเฉียบพลัน หรือเคยผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม และหัวใจห้องบนเต้นแผ่วระรัว
                       4.อัมพฤกษ์ ร้อยละ 15-20 ของผู้ป่วยที่เป็นโรคลมปัจจุบันมักจะเคยเป็นอัมพฤกษ์มากก่อนอย่างน้อยหนึ่งครั้งขึ้นไป ยิ่งเป็นอัมพฤกษ์มากบ่อยเท่าไหร่ โอกาสที่จะเสียชีวิตจากโรคลมปัจจุบันมากขึ้นเช่นกัน
                        5.โรคเบาหวาน ทำให้คนเสี่ยงเป็นโรคลมปัจจุบันมากขึ้นถึงสองเท่า
                        6.ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดผิดปกติ เลือดมีโปรตีนไขมันความหนาแน่นต่ำปริมาณมาก (แอลดีแอล) โอกาสที่จะเป็นโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแข็งก็จะมากขึ้น แต่ถ้าเลือดมีโปรตีนไขมันความหนาแน่นสูงปริมาณมาก (เอชดีแอล) โอกาสที่จะเป็นโรคนี้ก็น้อยลง เพราะโปรตีนไขมันชนิดหลังจะป้องกันไม่ให้ ตะกรันไปเกาะตามผนังหลอดเลือด
สังเกตสัญญาณเตือน
           1.มีอาการชาหรือกล้าเนื้ออ่อนแรงตามใบหน้า เคลื่อนไหวแขนหรือขาซีกใดซีกหนึ่งไม่ได้
           2.ตามัว เห็นภาพซ้อน หรือมองไม่เห็นเลยทันที และเป็นเฉพาะกับตาข้างใดข้างหนึ่ง
           3.พูดได้หรือพูดลำบาก หรือฟังคนอื่นพูดไม่รู้เรื่อง
           4.ปวดศีรษะอย่างรุนแรงเหมือน ฟ้าผ่าในทันทีโดยไม่ทราบสาเหตุ
           5.ปวดศีรษะ วิงเวียน หรือล้มลงทันที โดยเฉพาะเมื่อมีบางอาการข้างต้นเกิดขึ้นด้วย



การปฐมพยาบาลอาการเป็นลมหรือหมดสติ

               ภาวะเป็นลมหรือหมดสตินั้น เราสามารถพบได้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาการดังกล่าวเกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ และอาจเป็นได้หลายสาเหตุ เช่น เหนื่อยหรือร้อนจัด หิวหรือเครียด โดยผู้ที่จะให้การช่วยเหลือผู้เป็นลมได้นั้น ควรมีความรู้ความเข้าใจในวิธีการ ดังนี้
              วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้เป็นลม
                        – นำเข้าพักในที่ร่ม มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
                        – ให้นอนราบ และคลายเสื้อผ้าให้หลวม
                        – ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดเหงื่อที่หน้าผาก มือ และเท้า

                        – ให้ผู้เป็นลมหรือหมดสติดมแอมโมเนีย

การปฐมพยาบาลผู้ที่เลือดกำเดาออก

เกิดจากการกระแทกสั่งน้ำมูกแรงๆ การแคะจมูก วิธีการให้ความช่วยเหลือมีดังนี้
         1. นั่งก้มศรีษะเล็กน้อย บีบจมูกนาน 10 นาที หายใจทางปาก
         2. วางน้ำแข็งหรือผ้าเย็นบนสันจมูกหรือหน้าผาก
         3. ถ้าไม่หยุดรีบไปพบแพทย์
กรณีสิ่งแปลกปลอมเข้าจมูก
        1. บีบจมูกข้างที่ไม่มีสิ่งแปลกปลอมแล้วสั่งออกมาแรงๆ
        2. อย่าพยายามแคะออก
        3. ถ้าเป็นเด็กให้หันเหความสนใจจากจมูกให้หายใจทางปาก

        4. รีบไปพบแพทย์ทันที

การปฐมพยาบาลผู้ที่ถูกไฟดูด

การช่วยเหลือผู้ที่ถูกไฟดูดอย่างถูกวิธี
         1. หากผู้ที่ถูกไฟดูดยังติดอยู่กับสายไฟ ให้ถอดปลั๊กหรือสับคัทเอาท์ลงเพื่อตัดแหล่งจ่ายไฟ
         2. ใช้วัตถุที่เป็นฉนวน ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า เช่น ไม้แห้งๆ สายยางพลาสติกแห้งๆหรือหนังสือพิมพ์ที่ม้วนเป็นแท่ง เขี่ยสายไฟให้หลุดจากตัวผู้ที่ถูกไฟดูด หรืออาจใช้เชือกหรือผ้าแห้งๆ คล้องดึงผู้ที่ถูกไฟดูดออกมา
         3. การใส่ถุงมือยาง การใช้หนังสือพิมพ์หนาๆหรือผ้าแห้งหนาๆ ห่อมือ แล้วผลักผู้ที่ถูกไฟดูดให้หลุดออกมา
ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งแต่ต้องระวังว่าผู้ที่ถูกไฟดูด อาจได้รับบาดเจ็บจากการถูกผลักนั้น
         4. ผู้ที่เข้าไปช่วยควรจะยืนอยู่บนฉนวนเช่นกัน เช่น ยืนอยู่บนกองหนังสือพิมพ์ ผ้าห่ม กล่องไม้หรือรองเท้ายาง และผิวหนังต้องแห้งไม่เปียกชื้น มิฉะนั้นอาจถูกไฟดูดได้
         5. สังเกตให้ละเอียดถึงอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดร่วมด้วย เช่น อาจพลัดตกจากที่สูง มีอาการบาดเจ็บหรือกระดูกหัก หากเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากที่เกิดเหตุอย่างไม่ถูกวิธี อาจเกิดความพิการหรืออัมพาตได้
         6. ตรวจดูว่าหัวใจหยุดเต้นหรือไม่ โดยแนบหูฟังที่หน้าอกหรือจับชีพจร หากหัวใจหยุดเต้นต้องทำการนวดหัวใจไปพร้อมๆ กับการผายปอด แล้วรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด



การปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้ถูกงูกัด

1. ล้างแผลด้วยน้ำและสบู่ ไม่ควรใช้เหล้า ยาสีฟัน ขี้เถ้าทาแผล หรือสมุนไพรใดๆ
2. บีบเลือดออกจากแผลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ควรใช้ปากดูดหรือเปิดปากแผลด้วยของมีคม
3. การรัด ควรรัดเหนือและใต้บาดแผลประมาณ 3 นิ้วมือ ไม่ควรรัดเหนือบาดแผลให้แน่นมาก เพราะจะทำให้อวัยวะส่วนปลายขาดเลือดและเน่าตาย ควรคลายความแน่นพอสอดนิ้วมือได้ 1 นิ้ว และทุก 15-20 นาที ควรคลายเชือกหรือสายรัดออกประมาณ 1 นาที จนกว่าจะถึงโรงพยาบาล 
4. ใช้ผ้าสะอาดห้ามเลือดด้วยการกดแผลโดยตรง ถ้าสามารถใช้แอลกอฮอล์หรือเบต้าดีนทาแผลได้ก็จะเป็นผลดีต่อการทำลายเชื้อโรคต่างๆ


5. พยายามเคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยที่สุด เพราะหากเคลื่อนไหวมาก จะทำให้พิษของงูเข้าสู่กระแสเลือดเร็วขึ้น
6. วางอวัยวะส่วนนั้นให้ต่ำกว่าหรือระดับเดียวกับหัวใจ
7. รับประทานยาแก้ปวดหากรู้สึกปวด แต่ห้ามใช้ยาที่มีฤทธิ์แอลกอฮอล์ ยาระงับประสาท ยานอนหลับ ยาดองเหล้า เป็นต้น
8. รีบนำผู้ป่วยส่งสถานพยาบาลใกล้บ้าน ไม่จำเป็นต้องนำซากงูมาให้แพทย์ตรวจดูว่าเป็นงูประเภทใด เนื่องจากอาจจับได้ในบริเวณใกล้เคียงซึ่งไม่ใช่เป็นตัวที่กัด ปัจจุบันใช้การดูรอยกัดและลักษณะแผลเพื่อกำหนดการใช้เซรุ่มต้านพิษงูฉีดให้เหมาะสม
9. ให้ระลึกเสมอว่างูที่กัดทุกตัวเป็นงูมีพิษ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้ที่ชัก

           1. จัดสภาวะแวดล้อม โดยต้องป้องกันการบาดเจ็บของผู้ป่วยที่ อาจเกิดขึ้นขณะชัก จัดให้ผู้ป่วยนอนลงกับพื้นในบริเวณที่ปลอดภัย ไม่ควรมี เฟอร์นิเจอร์หรือวัตถุแหลมคม ที่ผู้ป่วยอาจไปกระทบกระแทกได้ขณะชัก
           2. จัดผู้ป่วยให้นอนตะแคงซ้าย (Recovery position) เพื่อป้องกัน ทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้น และป้องกันการสำลักอาหารลงปอด
           3. จัดเสื้อผ้าผู้ป่วยให้หลวม โดยเฉพาะบริเวณลำคอ ไม่ควรรัดมาก เกินไป
           4. อยู่กับผู้ป่วยจนกว่าผู้ป่วยจะหยุดชัก โดยให้มีคนใดคนหนึ่งโทร ตาม 1669 เพื่อตามบุคลากรทางการแพทย์มาช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
           5. โดยทั่วไปผู้ป่วย ส่วนใหญ่สามารถหายชักเองได้ ในเวลาเป็นนาทีแต่ในบางราย ไม่สามารถหายเองได้โดยเฉพาะ อย่างยิ่งหากชักนานเกิน 5 นาที ต้องตามบุคลากรทางการแพทย์ มาโดยเร็วที่สุดเพื่อให้ยารักษา
ข้อควรระวัง ห้ามทำสิ่งต่อไปนี้ในผู้ป่วยชัก
          1.ห้ามผูกตรึงผู้ป่วย
          2.ห้ามนำ วัตถุใดๆรวมถึงนิ้วมือของผู้ช่วยเหลือใส่ในปากของผู้ป่วย ระหว่างฟันบนและล่าง เนื่องจากไม่ก่อให้เกิดประโยชน์และยังสามารถเกิด อันตรายจากวัตถุทำ ให้เกิดแผลในปากและนิ้วของผู้ช่วยเหลืออาจถูกกัดขาดได้
          3.อย่าเคลื่อนย้ายผู้ป่วยขณะกำ ลังชักเกร็ง ยกเว้นกรณีชักอยู่ใน บริเวณที่ไม่ปลอดภัย