การปฐมพยาบาลผู้ที่จมน้ำ

วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การปฐมพยาบาลผู้ที่เป็นโรคลมปัจจุบันหรือโรคสมองขาดเลือด

              โรคลมปัจจุบัน คือ ภาวะสมองขาดเลือด เกิดเนื่องจากระบบไหลเวียนเลือดในสมองผิดปกติทำให้สมองขาดเลือดมาหล่อเลี้ยง และหารปล่อยให้สมองขาดสารอาหารที่จำเป็นนานติดต่อกันถึง 4 นาทีเซลล์สมองจะเริ่มตาย ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
โรคลมปัจจุบัน มี 2 ประเภท
             อัมพฤกษ์
     เกิดจากการเป็นโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งเกิดจากการมี ตะกรันคอเลสเตอรอลมาเกาะที่ผนังหลอดเลือดแดงจนหนาขึ้น เลือดไหลเวียนได้ช้าลง และส่งผลให้ลิ่มเลือดมาอุดตันได้ง่าย เรียกว่า  อัมพฤกษ์ หรือ ทีไอเอ (TIA:transient ischemic attack) คือเป็นอัมพาตชั่วขณะ อาการจะเป็นอยู่ช่วงสั้นๆ เพราะขณะที่เกิดอาการดังกล่าว ร่างกายจะหลั่งเอนไซม์บางชนิดออกมา ทำให้ลิ่มเลือดละลายจนเลือดสามารถไหลเวียนได้สะดวกเหมือนเดิม
             อัมพาต
สาเหตุเกิดจากหลอดเลือดในสมองแตกหรือฉีกจาดบางส่วน จนเกิดเลือดคั่งบริเวณเนื้อเยื่อสมอง ทำให้เนื้อเยื่อสมอง (ส่วนที่เลือดนั้นไปเลี้ยง) ถูกทำลาย และทำให้เซลล์สมองส่วนอื่นถูกทำลายไปด้วยได้เพราะขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง
           ปัจจัยเสี่ยง ที่ควบคุมได้ ได้แก่
                     1.ความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุของโรคลมปัจจุบันประมารร้อยละ 40 ในที่นี้หมายถึงคนที่มีค่าความดันช่วงบน มากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท และมีค่าความดันช่วงล่าง มากกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท
                      2.การสูบบุหรี่ มีโอกาสเป็นมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ถึงร้อยละ 50
                      3.โรคหัวใจ นอกจากโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแข็งที่ทำให้เป็นโรคลมปัจจุบันได้แล้ว โรคเสี่ยงอื่นๆ คือ โรคหัวใจล้มเหลวเลือดคั่ง ภาวะหัวใจล้ม โรคลื้นหัวใจรั่วเฉียบพลัน หรือเคยผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม และหัวใจห้องบนเต้นแผ่วระรัว
                       4.อัมพฤกษ์ ร้อยละ 15-20 ของผู้ป่วยที่เป็นโรคลมปัจจุบันมักจะเคยเป็นอัมพฤกษ์มากก่อนอย่างน้อยหนึ่งครั้งขึ้นไป ยิ่งเป็นอัมพฤกษ์มากบ่อยเท่าไหร่ โอกาสที่จะเสียชีวิตจากโรคลมปัจจุบันมากขึ้นเช่นกัน
                        5.โรคเบาหวาน ทำให้คนเสี่ยงเป็นโรคลมปัจจุบันมากขึ้นถึงสองเท่า
                        6.ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดผิดปกติ เลือดมีโปรตีนไขมันความหนาแน่นต่ำปริมาณมาก (แอลดีแอล) โอกาสที่จะเป็นโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแข็งก็จะมากขึ้น แต่ถ้าเลือดมีโปรตีนไขมันความหนาแน่นสูงปริมาณมาก (เอชดีแอล) โอกาสที่จะเป็นโรคนี้ก็น้อยลง เพราะโปรตีนไขมันชนิดหลังจะป้องกันไม่ให้ ตะกรันไปเกาะตามผนังหลอดเลือด
สังเกตสัญญาณเตือน
           1.มีอาการชาหรือกล้าเนื้ออ่อนแรงตามใบหน้า เคลื่อนไหวแขนหรือขาซีกใดซีกหนึ่งไม่ได้
           2.ตามัว เห็นภาพซ้อน หรือมองไม่เห็นเลยทันที และเป็นเฉพาะกับตาข้างใดข้างหนึ่ง
           3.พูดได้หรือพูดลำบาก หรือฟังคนอื่นพูดไม่รู้เรื่อง
           4.ปวดศีรษะอย่างรุนแรงเหมือน ฟ้าผ่าในทันทีโดยไม่ทราบสาเหตุ
           5.ปวดศีรษะ วิงเวียน หรือล้มลงทันที โดยเฉพาะเมื่อมีบางอาการข้างต้นเกิดขึ้นด้วย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น