การช่วยเหลือผู้ที่ถูกไฟดูดอย่างถูกวิธี
1. หากผู้ที่ถูกไฟดูดยังติดอยู่กับสายไฟ ให้ถอดปลั๊กหรือสับคัทเอาท์ลงเพื่อตัดแหล่งจ่ายไฟ
2. ใช้วัตถุที่เป็นฉนวน ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า เช่น ไม้แห้งๆ สายยางพลาสติกแห้งๆหรือหนังสือพิมพ์ที่ม้วนเป็นแท่ง เขี่ยสายไฟให้หลุดจากตัวผู้ที่ถูกไฟดูด หรืออาจใช้เชือกหรือผ้าแห้งๆ คล้องดึงผู้ที่ถูกไฟดูดออกมา
3. การใส่ถุงมือยาง การใช้หนังสือพิมพ์หนาๆหรือผ้าแห้งหนาๆ ห่อมือ แล้วผลักผู้ที่ถูกไฟดูดให้หลุดออกมา
ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งแต่ต้องระวังว่าผู้ที่ถูกไฟดูด อาจได้รับบาดเจ็บจากการถูกผลักนั้น
4. ผู้ที่เข้าไปช่วยควรจะยืนอยู่บนฉนวนเช่นกัน เช่น ยืนอยู่บนกองหนังสือพิมพ์ ผ้าห่ม กล่องไม้หรือรองเท้ายาง และผิวหนังต้องแห้งไม่เปียกชื้น มิฉะนั้นอาจถูกไฟดูดได้
5. สังเกตให้ละเอียดถึงอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดร่วมด้วย เช่น อาจพลัดตกจากที่สูง มีอาการบาดเจ็บหรือกระดูกหัก หากเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากที่เกิดเหตุอย่างไม่ถูกวิธี อาจเกิดความพิการหรืออัมพาตได้
6. ตรวจดูว่าหัวใจหยุดเต้นหรือไม่ โดยแนบหูฟังที่หน้าอกหรือจับชีพจร หากหัวใจหยุดเต้นต้องทำการนวดหัวใจไปพร้อมๆ กับการผายปอด แล้วรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
1. หากผู้ที่ถูกไฟดูดยังติดอยู่กับสายไฟ ให้ถอดปลั๊กหรือสับคัทเอาท์ลงเพื่อตัดแหล่งจ่ายไฟ
2. ใช้วัตถุที่เป็นฉนวน ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า เช่น ไม้แห้งๆ สายยางพลาสติกแห้งๆหรือหนังสือพิมพ์ที่ม้วนเป็นแท่ง เขี่ยสายไฟให้หลุดจากตัวผู้ที่ถูกไฟดูด หรืออาจใช้เชือกหรือผ้าแห้งๆ คล้องดึงผู้ที่ถูกไฟดูดออกมา
3. การใส่ถุงมือยาง การใช้หนังสือพิมพ์หนาๆหรือผ้าแห้งหนาๆ ห่อมือ แล้วผลักผู้ที่ถูกไฟดูดให้หลุดออกมา
ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งแต่ต้องระวังว่าผู้ที่ถูกไฟดูด อาจได้รับบาดเจ็บจากการถูกผลักนั้น
4. ผู้ที่เข้าไปช่วยควรจะยืนอยู่บนฉนวนเช่นกัน เช่น ยืนอยู่บนกองหนังสือพิมพ์ ผ้าห่ม กล่องไม้หรือรองเท้ายาง และผิวหนังต้องแห้งไม่เปียกชื้น มิฉะนั้นอาจถูกไฟดูดได้
5. สังเกตให้ละเอียดถึงอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดร่วมด้วย เช่น อาจพลัดตกจากที่สูง มีอาการบาดเจ็บหรือกระดูกหัก หากเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากที่เกิดเหตุอย่างไม่ถูกวิธี อาจเกิดความพิการหรืออัมพาตได้
6. ตรวจดูว่าหัวใจหยุดเต้นหรือไม่ โดยแนบหูฟังที่หน้าอกหรือจับชีพจร หากหัวใจหยุดเต้นต้องทำการนวดหัวใจไปพร้อมๆ กับการผายปอด แล้วรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น