การปฐมพยาบาลผู้ที่จมน้ำ

วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การปฐมพยาบาลกรณีผู้ป่วยกระดูกหัก

ประเภทของกระดูกหัก
        1. กระดูกหักแบบสามัญ (simple fracture) หมายถึง  กระดูกหักแล้วไม่ปรากฏแผลให้เห็นบนผิวหนัง
        2. กระดูกหักแผลเปิด (
compound fracture) หมายถึง  กระดูกที่หักทิ่มแทงผิวหนังออกมาภายนอก
        3. กระดูกหักแตกย่อย (
comminuted fracture) หมายถึง  ชิ้นส่วนของกระดูกที่หักปรากฏออกมามากกว่า ๒ ชิ้นขึ้นไป

หลักทั่วไปในการปฐมพยาบาลผู้ที่กระดูกหัก
           การปฐมพยาบาลที่ดีที่สุด คือ ให้ผู้ป่วยนอนอยู่กับที่ห้ามเคลื่อนย้ายโดยไม่จำเป็น เพราะหากทำผิดวิธีอาจบาดเจ็บมากขึ้น ถ้าผู้ป่วยมีเลือดออกให้ห้ามเลือดไว้ก่อน หากมีอาการช็อกให้รักษาช็อกไปก่อน ถ้าจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยให้เข้าเฝือกชั่วคราว ณ ที่ผู้ป่วยนอนอยู่ ถ้าบาดแผลเปิด ให้ห้ามเลือดและปิดแผลไว้ชั่วคราวก่อนเข้าเฝือก สิ่งที่ควรระวังมากที่สุดคือกระดูกสันหลังหักหรือกระดูกต้นคอหัก ถ้าเคลื่อนย้ายผิดวิธี อาจทำให้ผู้ป่วยพิการตลอดชีวิต หรือถึงแก่ชีวิตได้ทันทีขณะเคลื่อนย้าย
           1. การซักประวัติ จะต้องซักประวัติเกี่ยวกับการได้รับอุบัติเหตุ เพื่อให้ทราบว่าเกิดได้อย่างไร ในท่าใด ระยะเวลาที่เกิด เพื่อประเมินความรุนแรงของแรงที่มากระทำ และตำแหน่งของกระดูกที่ได้รับบาดเจ็บ
           2. ตรวจร่างกาย โดยตรวจทั้งตัว และสนใจต่อส่วนที่ได้รับอันตรายมากก่อน โดยถอดเสื้อผ้าออก การถอดเสื้อผ้าผู้บาดเจ็บ ควรใช้วิธีตัดตามตะเข็บ อย่าพยายามให้ผู้บาดเจ็บถอดเอง เพราะจะทำให้เจ็บปวดเพิ่มขึ้นแล้วสังเกตอาการและอาการแสดงว่ามีการบวม รอยฟกช้ำ หรือ จ้ำเลือด บาดแผล ความพิการผิดรูป และคลำอย่างนุ่มนวล ถ้ามีการบวมและชามากให้จับชีพจรเปรียบเทียบกับแขนหรือขาทั้งสองข้าง ตรวจระดับความรู้สึก การเปลี่ยนแปลงสีผิว การตรวจบริเวณที่หัก ต้องทำด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจทำให้ปลายกระดูกที่หักเคลื่อนมาเกยกัน หรือทะลุออกมานอกผิวหนัง ขณะตรวจร่างกาย ต้องดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง ประเมินการหายใจและการไหลเวียนของเลือด สังเกตการตกเลือด ถ้ามีต้องห้ามเลือด หลีกเลี่ยงวิธีการห้ามเลือดแบบขันชะเนาะ เพราะถ้ารัดแน่นเกินไป อาจจะทำให้เลือดแดงไปเลี้ยงส่วนปลายไม่พอ ถ้ามีบาดแผลต้องตกแต่งแผลและพันแผล ในรายที่มีกระดูกหักแบบเปิดให้ใช้ผ้าสะอาดคลุมปิดไว้ แล้วพันทับ ห้ามดึงกระดูกให้เข้าที่
          3. การเข้าเฝือกชั่วคราว การดามบริเวณที่หักด้วยเฝือกชั่วคราวให้ถูกต้องและรวดเร็ว จะช่วยให้บริเวณที่หักอยู่นิ่ง ลดความเจ็บปวด และไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บเพิ่มขึ้น โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่าย เช่น ไม้ หรือกระดาษหนังสือพิมพ์พับให้หนา หมอน ร่ม ไม้กดลิ้น กระดาน เสา ฯลฯ รวมทั้งผ้าและเชือกสำหรับพันรัดด้วยไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจนกว่าจะเข้าเฝือกชั่วคราวให้เรียบร้อยก่อน ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้เลย ให้ใช้แขนหรือขาข้างที่ไม่หักหรือลำตัวเป็นเฝือกชั่วคราว โดยผูกยึดให้ดีก่อนที่จะเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
          4. การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ เพื่อเคลื่อนย้ายออกจากสถานที่มีอันตรายไปสู่ที่ปลอดภัยหรือโรงพยาบาล การเคลื่อนย้ายอย่างถูกวิธี จะช่วยลดความพิการและอันตรายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้

1 ความคิดเห็น: