การปฐมพยาบาลผู้ที่จมน้ำ

วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การปฐมพยาบาลกรณีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย

           สิ่งแปลกปลอม หมายถึง เศษวัตถุ สารเคมี เมล็ดผลไม้ หรือวัตถุใดก็ตามที่เข้าสู่อวัยวะสำคัญของร่างกาย เช่น ตา หู คอ จมูกและกระเพาะอาหาร ซึ่งเมื่อเข้าไปค้างอยู่ภายในอวัยวะเหล่านี้แล้ว เป็นเหตุให้เกิดอันตรายขึ้น ซึ่งต้องให้การปฐมพยาบาลเพื่อนำสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ออกจากร่างกาย

การปฐมพยาบาล
กรณีสิ่งแปลกปลอมเข้าตาชนิดธรรมดา     คือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปในเปลือกตาหรือลูกตาทำให้เกิดความระคายเคือง  เจ็บตา   และสิ่งแปลกปลอมนี้อาจจะเคลื่อนที่ไปได้
 1.  อย่าขยี้ตา
 2.  ลืมตาในน้ำสะอาด หรือล้างตาด้วยน้ำอุ่น หรือน้ำยาบอริค 3% หรือน้ำเกลือ
 3.  ถ้ามองเห็นสิ่งแปลกปลอมอยู่ให้เปิดเปลือกตาขึ้น ใช้มุมผ้าบาง ๆ ที่สะอาดหรือใช้สำลีพันปลายไม้เขี่ยออก
4.   ถ้าสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ในเปลือกตาบน   ให้จับและดึงเปลือกตาบนด้วยนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้    พับหนังตาบนด้วยไม้พันสำลี   บอกให้ผู้บาดเจ็บมองลงต่ำจะเห็นบริเวณเปลือกตา และดวงตาจากนั้นใช้ผ้าสะอาดเขี่ยสิ่งแปลกปลอมออก
  5.   เมื่อสิ่งแปลกปลอมที่เข้าตาออกเรียบร้อยแล้วควรล้างตาด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำอุ่นปริมาณมากๆ

กรณีสิ่งแปลกปลอมเข้าตาชนิดฝังคาอยู่ในตา  
สิ่งแปลกปลอมลักษณะนี้จะเคลื่อนที่ไม่ได้  เช่น    สะเก็ดหิน   ผงเหล็ก   ซึ่งมีความแหลมคมฝังอยู่ในดวงตาส่วนใดส่วนหนึ่ง

การปฐมพยาบาล
1.
  อย่าขยี้ตาหรือพยายามเขี่ยสิ่งแปลกปลอมเอง
2.
   ให้หลับตาและใช้ผ้าก๊อซสะอาดปิดตาพันผ้าไว้เพื่อยึดไม่ให้เคลื่อนไหว
3.
  รีบนำส่งโรงพยาบาล

สิ่งแปลกปลอมเข้าหู (Foreign bodies in ears) 
          กรณีสิ่งแปลกปลอมประเภทเศษวัตถุ   ได้แก่ ก้อนหิน   ก้อนกรวด    เมล็ดพืช   ลูกปัด  กระดุม ฯลฯ    มักพบในเด็ก ๆ  ที่ใส่เข้าไปโดยไม่รู้ถึงอันตรายว่าเป็นอย่างไร   หรือเล่นกันและพบได้ในคนปัญญาอ่อน
การปฐมพยาบาล
1.   อย่าพยายามใช้นิ้วมือหรือไม้แคะหู  เพราะจะทำให้วัตถุเลื่อนลึกลงไป
2.   ให้เอียงหูข้างนั้นต่ำลง  หรือให้นอนตะแคงและกระตุกใบหูข้างนั้นมาก    วัตถุจะเลื่อนออกมาเองได้
3.    ถ้าวัตถุยังไม่ออกรีบส่งโรงพยาบาล
         กรณีสิ่งแปลกปลอมประเภทตัวแมลงต่างๆ   ได้แก่  ยุง  แมลงสาบ  ตัวหนอน  เห็บ เหา มักพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่  สิ่งแปลกปลอมเหล่านี้จะเคลื่อนที่ไปมาทำให้เกิดความรำคาญและเจ็บปวดอย่างมาก
อาการ  ผู้บาดเจ็บจะรู้สึกอื้อรำคาญ  การได้ยินอาจเสียไปเล็กน้อย ในเด็กมักจะเอามือจับบริเวณหูหรือแคะหู    แมลงบางชนิดเช่น   เห็บ  เหา   แมลงอื่นๆ  จะกัดทำให้มีเลือดออกหรือเจ็บปวดอย่างรุนแรง  อาการปวดหูอาจเกิดจากการอักเสบของช่องหู
การปฐมพยาบาล
        1. หยอดหูข้างนั้นด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำมันมะกอกจนเต็ม   เพื่อให้ตัวแมลงตาย   และลอยขึ้นมา  แต่ถ้าผู้บาดเจ็บมีประวัติว่าเป็นหูน้ำหนวกห้ามใช้น้ำหยอดเพราะจะทำให้เกิดการอักเสบ
        2. ใช้ไม้พันสำลีที่สะอาด  ทำความสะอาดหูข้างนั้น

        3. ถ้าแมลงนั้นตายและไม่ลอยขึ้นมา  อาจเป็นเพราะแมลงตัวใหญ่ ให้รีบส่งโรงพยาบาล

สิ่งแปลกปลอมติดคอ (Foreign bodies in throat)  
            สิ่งแปลกปลอมในปากและคอ  ในปากและคอจะพบสิ่งแปลกปลอมชนิดแหลมหรือมีคม   เช่น ก้างปลา    ไม้กลัด   ลวดเย็บกระดาษ สิ่งเหล่านี้จะติดที่บริเวณโคนลิ้น   ผนังคอ   ต่อมทอนซิลหรืออาจลึกลงไปถึงฝาปิดกล่องเสียง (Epiglottis)
กรณีเจ็บบริเวณคอเวลากลืนน้ำลายหรืออาหาร  รับประทานอาหารไม่ได้   ต่อมาอาการเจ็บอาจจะหายไปเนื่องจากสิ่งแปลกปลอมหลุดลงไปในกระเพาะอาหาร
กรณีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่กล่องเสียงและหลอดลม 
  สิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่กล่องเสียงและหลอดลม  มักจะเป็นวัตถุที่ลื่น  เช่น   เมล็ดพืช   กระดุม  เศษอาหาร  เหรียญต่างๆ ส่วนใหญ่สิ่งแปลกปลอมจะลงไปติดในหลอดลม   ถ้าติดในกล่องเสียงผู้บาดเจ็บจะหายใจขัด   ตัวเขียว  และเสียชีวิตได้
การปฐมพยาบาล
        1. ถ้าเป็นก้างปลาเล็ก ๆ ให้กลืนน้ำอึกใหญ่ ๆ ข้าวสุกเป็นก้อน ๆ ไม่ต้องเคี้ยว ขนมปังปอนต์หรือขนมสาลี  ก็อาจจะหลุดไปเองได้
        2. ถ้าไม่ออก  อย่าพยายามเขี่ยหรือดึงออก
        3. ถ้าเป็นเด็กเล็กๆ ให้ผู้ปฐมพยาบาลรีบจับลำตัวคว่ำ  ห้อยศีรษะลงต่ำแล้วตบกลางหลังแรงๆ  เพื่อให้ไอออกมา
        4. ถ้าเป็นเด็กโตหรือผู้ใหญ่   ให้ยืนก้มตัวลงมาก ๆ       ให้ห้อยหัวลง  ผู้ปฐมพยาบาลเข้าข้างหลังใช้แขนซ้ายสอดครั้งเอวไว้    ใช้มือขวาตบกลางหลังแรงๆ    อาจไอออกมาได้  หรือให้นอนคว่ำหรือตะแคงศีรษะต่ำ  ผู้ปฐมพยาบาลตบหลังผู้ป่วยระหว่างไหล่ทั้งสองข้างให้แรงพอสมควร   ถ้ายังติดอยู่หรือติดอยู่ลึก   ควรส่งปรึกษาแพทย์
        5. ถ้ามีการหายใจขัด   หรือหยุดหายใจให้ช่วยหายใจ


 สิ่งแปลกปลอมเข้าจมูก (Foreign bodies in nose)        
         มักพบในเด็กโดยการสอดใส่เข้าไปเอง วัตถุแปลกปลอมที่พบบ่อยๆ ได้แก่  ยางลบ  กระดุม   เมล็ดผลไม้   ข้าวเปลือก  ก้อนหิน  เป็นต้น
อาการ  ถ้าติดอยู่ในรูจมูก    ผู้บาดเจ็บจะมีอาการคัดจมูกมีน้ำมูกใส  ๆ และจามในระยะแรก  นาน ๆ เข้าจะมีสีเหลืองมีกลิ่นเหม็น   เป็นแผลมีหนองและมีเลือดออก   ส่วนใหญ่มักพบข้างเดียว   ในบางกรณีถ้าเป็นเศษเล็กและลื่น     อาจตกลงไปในกระเพาะอาหารหรือหลอดลม
การปฐมพยาบาล
         1. อย่าใช้นิ้วหรือไม้แคะออก   เพราะจะทำให้วัตถุนั้นเลื่อนลงไปอีก
         2. ให้ปิดจมูกข้างหนึ่งแล้วสั่งแรง ๆ   วัตถุนั้นก็อาจจะหลุดออกมาได้
         3. ถ้าวัตถุนั้นอยู่ลึกมาก    สั่งไม่ออก  ให้รีบปรึกษาแพทย์  เพราะแพทย์จะได้ช่วยเอาออกโดยใช้เครื่องมือที่งอเป็นตะขอ (Nasal hook)   เขี่ยออก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น