การปฐมพยาบาลผู้ที่จมน้ำ

วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เอกสารอ้างอิง

       1.วราภรณ์ บุญเชียง. (2556). การรักษาพยาบาลโรคเบื้องต้น. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
        2.สุรชาติ สิทธิปกรณ์. (2559). การดูแลสุขภาพบุคคลและชุมชน. มหาสารคาม: สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  3. วิภาพร วรหาญ. (2549). การปฐมพยาบาลและการพยาบาลฉุกเฉิน.ขอนแก่น : สำนักพิมพ์ขอนแก่นการพิมพ์.
       4. แพทย์หญิงพันทิวา สินรัชตานันท์. (2550). คู่มือ ปฐมพยาบาล Guide to Self-Care (ชุดชีวิตและสุขภาพ). กรุงเทพฯ: อมรินทร์.
  5. วิลาวัณย์ เตือนราษฎร์วราภรณ์ บุญเชียง. (2556). การรักษาพยาบาลโรคเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
  6. สถานบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ คู่มือปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน สำหรับชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น พ.ศ. 2554
  7. สภากาชาดไทย คู่มือปฐมพยาบาล (First Aids Manual) 2553
  8. คู่มือบำบัดอาการปวดเมื่อยด้วยตนเอง. กรุงเทพ : วิทยสถาน, 2553
  9. วิจิตรา กุสุมภ์./(2551).
  10. การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต/ครั้งที่พิมพ์ 3 /กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล สหประชาพาณิชย์. มรรยาท ณ นคร./(2550).

การปฐมพยาบาลผู้ที่เป็นโรคลมปัจจุบันหรือโรคสมองขาดเลือด

              โรคลมปัจจุบัน คือ ภาวะสมองขาดเลือด เกิดเนื่องจากระบบไหลเวียนเลือดในสมองผิดปกติทำให้สมองขาดเลือดมาหล่อเลี้ยง และหารปล่อยให้สมองขาดสารอาหารที่จำเป็นนานติดต่อกันถึง 4 นาทีเซลล์สมองจะเริ่มตาย ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
โรคลมปัจจุบัน มี 2 ประเภท
             อัมพฤกษ์
     เกิดจากการเป็นโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งเกิดจากการมี ตะกรันคอเลสเตอรอลมาเกาะที่ผนังหลอดเลือดแดงจนหนาขึ้น เลือดไหลเวียนได้ช้าลง และส่งผลให้ลิ่มเลือดมาอุดตันได้ง่าย เรียกว่า  อัมพฤกษ์ หรือ ทีไอเอ (TIA:transient ischemic attack) คือเป็นอัมพาตชั่วขณะ อาการจะเป็นอยู่ช่วงสั้นๆ เพราะขณะที่เกิดอาการดังกล่าว ร่างกายจะหลั่งเอนไซม์บางชนิดออกมา ทำให้ลิ่มเลือดละลายจนเลือดสามารถไหลเวียนได้สะดวกเหมือนเดิม
             อัมพาต
สาเหตุเกิดจากหลอดเลือดในสมองแตกหรือฉีกจาดบางส่วน จนเกิดเลือดคั่งบริเวณเนื้อเยื่อสมอง ทำให้เนื้อเยื่อสมอง (ส่วนที่เลือดนั้นไปเลี้ยง) ถูกทำลาย และทำให้เซลล์สมองส่วนอื่นถูกทำลายไปด้วยได้เพราะขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง
           ปัจจัยเสี่ยง ที่ควบคุมได้ ได้แก่
                     1.ความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุของโรคลมปัจจุบันประมารร้อยละ 40 ในที่นี้หมายถึงคนที่มีค่าความดันช่วงบน มากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท และมีค่าความดันช่วงล่าง มากกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท
                      2.การสูบบุหรี่ มีโอกาสเป็นมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ถึงร้อยละ 50
                      3.โรคหัวใจ นอกจากโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแข็งที่ทำให้เป็นโรคลมปัจจุบันได้แล้ว โรคเสี่ยงอื่นๆ คือ โรคหัวใจล้มเหลวเลือดคั่ง ภาวะหัวใจล้ม โรคลื้นหัวใจรั่วเฉียบพลัน หรือเคยผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม และหัวใจห้องบนเต้นแผ่วระรัว
                       4.อัมพฤกษ์ ร้อยละ 15-20 ของผู้ป่วยที่เป็นโรคลมปัจจุบันมักจะเคยเป็นอัมพฤกษ์มากก่อนอย่างน้อยหนึ่งครั้งขึ้นไป ยิ่งเป็นอัมพฤกษ์มากบ่อยเท่าไหร่ โอกาสที่จะเสียชีวิตจากโรคลมปัจจุบันมากขึ้นเช่นกัน
                        5.โรคเบาหวาน ทำให้คนเสี่ยงเป็นโรคลมปัจจุบันมากขึ้นถึงสองเท่า
                        6.ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดผิดปกติ เลือดมีโปรตีนไขมันความหนาแน่นต่ำปริมาณมาก (แอลดีแอล) โอกาสที่จะเป็นโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแข็งก็จะมากขึ้น แต่ถ้าเลือดมีโปรตีนไขมันความหนาแน่นสูงปริมาณมาก (เอชดีแอล) โอกาสที่จะเป็นโรคนี้ก็น้อยลง เพราะโปรตีนไขมันชนิดหลังจะป้องกันไม่ให้ ตะกรันไปเกาะตามผนังหลอดเลือด
สังเกตสัญญาณเตือน
           1.มีอาการชาหรือกล้าเนื้ออ่อนแรงตามใบหน้า เคลื่อนไหวแขนหรือขาซีกใดซีกหนึ่งไม่ได้
           2.ตามัว เห็นภาพซ้อน หรือมองไม่เห็นเลยทันที และเป็นเฉพาะกับตาข้างใดข้างหนึ่ง
           3.พูดได้หรือพูดลำบาก หรือฟังคนอื่นพูดไม่รู้เรื่อง
           4.ปวดศีรษะอย่างรุนแรงเหมือน ฟ้าผ่าในทันทีโดยไม่ทราบสาเหตุ
           5.ปวดศีรษะ วิงเวียน หรือล้มลงทันที โดยเฉพาะเมื่อมีบางอาการข้างต้นเกิดขึ้นด้วย



การปฐมพยาบาลอาการเป็นลมหรือหมดสติ

               ภาวะเป็นลมหรือหมดสตินั้น เราสามารถพบได้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาการดังกล่าวเกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ และอาจเป็นได้หลายสาเหตุ เช่น เหนื่อยหรือร้อนจัด หิวหรือเครียด โดยผู้ที่จะให้การช่วยเหลือผู้เป็นลมได้นั้น ควรมีความรู้ความเข้าใจในวิธีการ ดังนี้
              วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้เป็นลม
                        – นำเข้าพักในที่ร่ม มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
                        – ให้นอนราบ และคลายเสื้อผ้าให้หลวม
                        – ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดเหงื่อที่หน้าผาก มือ และเท้า

                        – ให้ผู้เป็นลมหรือหมดสติดมแอมโมเนีย

การปฐมพยาบาลผู้ที่เลือดกำเดาออก

เกิดจากการกระแทกสั่งน้ำมูกแรงๆ การแคะจมูก วิธีการให้ความช่วยเหลือมีดังนี้
         1. นั่งก้มศรีษะเล็กน้อย บีบจมูกนาน 10 นาที หายใจทางปาก
         2. วางน้ำแข็งหรือผ้าเย็นบนสันจมูกหรือหน้าผาก
         3. ถ้าไม่หยุดรีบไปพบแพทย์
กรณีสิ่งแปลกปลอมเข้าจมูก
        1. บีบจมูกข้างที่ไม่มีสิ่งแปลกปลอมแล้วสั่งออกมาแรงๆ
        2. อย่าพยายามแคะออก
        3. ถ้าเป็นเด็กให้หันเหความสนใจจากจมูกให้หายใจทางปาก

        4. รีบไปพบแพทย์ทันที

การปฐมพยาบาลผู้ที่ถูกไฟดูด

การช่วยเหลือผู้ที่ถูกไฟดูดอย่างถูกวิธี
         1. หากผู้ที่ถูกไฟดูดยังติดอยู่กับสายไฟ ให้ถอดปลั๊กหรือสับคัทเอาท์ลงเพื่อตัดแหล่งจ่ายไฟ
         2. ใช้วัตถุที่เป็นฉนวน ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า เช่น ไม้แห้งๆ สายยางพลาสติกแห้งๆหรือหนังสือพิมพ์ที่ม้วนเป็นแท่ง เขี่ยสายไฟให้หลุดจากตัวผู้ที่ถูกไฟดูด หรืออาจใช้เชือกหรือผ้าแห้งๆ คล้องดึงผู้ที่ถูกไฟดูดออกมา
         3. การใส่ถุงมือยาง การใช้หนังสือพิมพ์หนาๆหรือผ้าแห้งหนาๆ ห่อมือ แล้วผลักผู้ที่ถูกไฟดูดให้หลุดออกมา
ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งแต่ต้องระวังว่าผู้ที่ถูกไฟดูด อาจได้รับบาดเจ็บจากการถูกผลักนั้น
         4. ผู้ที่เข้าไปช่วยควรจะยืนอยู่บนฉนวนเช่นกัน เช่น ยืนอยู่บนกองหนังสือพิมพ์ ผ้าห่ม กล่องไม้หรือรองเท้ายาง และผิวหนังต้องแห้งไม่เปียกชื้น มิฉะนั้นอาจถูกไฟดูดได้
         5. สังเกตให้ละเอียดถึงอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดร่วมด้วย เช่น อาจพลัดตกจากที่สูง มีอาการบาดเจ็บหรือกระดูกหัก หากเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากที่เกิดเหตุอย่างไม่ถูกวิธี อาจเกิดความพิการหรืออัมพาตได้
         6. ตรวจดูว่าหัวใจหยุดเต้นหรือไม่ โดยแนบหูฟังที่หน้าอกหรือจับชีพจร หากหัวใจหยุดเต้นต้องทำการนวดหัวใจไปพร้อมๆ กับการผายปอด แล้วรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด



การปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้ถูกงูกัด

1. ล้างแผลด้วยน้ำและสบู่ ไม่ควรใช้เหล้า ยาสีฟัน ขี้เถ้าทาแผล หรือสมุนไพรใดๆ
2. บีบเลือดออกจากแผลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ควรใช้ปากดูดหรือเปิดปากแผลด้วยของมีคม
3. การรัด ควรรัดเหนือและใต้บาดแผลประมาณ 3 นิ้วมือ ไม่ควรรัดเหนือบาดแผลให้แน่นมาก เพราะจะทำให้อวัยวะส่วนปลายขาดเลือดและเน่าตาย ควรคลายความแน่นพอสอดนิ้วมือได้ 1 นิ้ว และทุก 15-20 นาที ควรคลายเชือกหรือสายรัดออกประมาณ 1 นาที จนกว่าจะถึงโรงพยาบาล 
4. ใช้ผ้าสะอาดห้ามเลือดด้วยการกดแผลโดยตรง ถ้าสามารถใช้แอลกอฮอล์หรือเบต้าดีนทาแผลได้ก็จะเป็นผลดีต่อการทำลายเชื้อโรคต่างๆ


5. พยายามเคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยที่สุด เพราะหากเคลื่อนไหวมาก จะทำให้พิษของงูเข้าสู่กระแสเลือดเร็วขึ้น
6. วางอวัยวะส่วนนั้นให้ต่ำกว่าหรือระดับเดียวกับหัวใจ
7. รับประทานยาแก้ปวดหากรู้สึกปวด แต่ห้ามใช้ยาที่มีฤทธิ์แอลกอฮอล์ ยาระงับประสาท ยานอนหลับ ยาดองเหล้า เป็นต้น
8. รีบนำผู้ป่วยส่งสถานพยาบาลใกล้บ้าน ไม่จำเป็นต้องนำซากงูมาให้แพทย์ตรวจดูว่าเป็นงูประเภทใด เนื่องจากอาจจับได้ในบริเวณใกล้เคียงซึ่งไม่ใช่เป็นตัวที่กัด ปัจจุบันใช้การดูรอยกัดและลักษณะแผลเพื่อกำหนดการใช้เซรุ่มต้านพิษงูฉีดให้เหมาะสม
9. ให้ระลึกเสมอว่างูที่กัดทุกตัวเป็นงูมีพิษ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้ที่ชัก

           1. จัดสภาวะแวดล้อม โดยต้องป้องกันการบาดเจ็บของผู้ป่วยที่ อาจเกิดขึ้นขณะชัก จัดให้ผู้ป่วยนอนลงกับพื้นในบริเวณที่ปลอดภัย ไม่ควรมี เฟอร์นิเจอร์หรือวัตถุแหลมคม ที่ผู้ป่วยอาจไปกระทบกระแทกได้ขณะชัก
           2. จัดผู้ป่วยให้นอนตะแคงซ้าย (Recovery position) เพื่อป้องกัน ทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้น และป้องกันการสำลักอาหารลงปอด
           3. จัดเสื้อผ้าผู้ป่วยให้หลวม โดยเฉพาะบริเวณลำคอ ไม่ควรรัดมาก เกินไป
           4. อยู่กับผู้ป่วยจนกว่าผู้ป่วยจะหยุดชัก โดยให้มีคนใดคนหนึ่งโทร ตาม 1669 เพื่อตามบุคลากรทางการแพทย์มาช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
           5. โดยทั่วไปผู้ป่วย ส่วนใหญ่สามารถหายชักเองได้ ในเวลาเป็นนาทีแต่ในบางราย ไม่สามารถหายเองได้โดยเฉพาะ อย่างยิ่งหากชักนานเกิน 5 นาที ต้องตามบุคลากรทางการแพทย์ มาโดยเร็วที่สุดเพื่อให้ยารักษา
ข้อควรระวัง ห้ามทำสิ่งต่อไปนี้ในผู้ป่วยชัก
          1.ห้ามผูกตรึงผู้ป่วย
          2.ห้ามนำ วัตถุใดๆรวมถึงนิ้วมือของผู้ช่วยเหลือใส่ในปากของผู้ป่วย ระหว่างฟันบนและล่าง เนื่องจากไม่ก่อให้เกิดประโยชน์และยังสามารถเกิด อันตรายจากวัตถุทำ ให้เกิดแผลในปากและนิ้วของผู้ช่วยเหลืออาจถูกกัดขาดได้
          3.อย่าเคลื่อนย้ายผู้ป่วยขณะกำ ลังชักเกร็ง ยกเว้นกรณีชักอยู่ใน บริเวณที่ไม่ปลอดภัย

การปฐมพยาบาลกรณีผู้ป่วยกระดูกหัก

ประเภทของกระดูกหัก
        1. กระดูกหักแบบสามัญ (simple fracture) หมายถึง  กระดูกหักแล้วไม่ปรากฏแผลให้เห็นบนผิวหนัง
        2. กระดูกหักแผลเปิด (
compound fracture) หมายถึง  กระดูกที่หักทิ่มแทงผิวหนังออกมาภายนอก
        3. กระดูกหักแตกย่อย (
comminuted fracture) หมายถึง  ชิ้นส่วนของกระดูกที่หักปรากฏออกมามากกว่า ๒ ชิ้นขึ้นไป

หลักทั่วไปในการปฐมพยาบาลผู้ที่กระดูกหัก
           การปฐมพยาบาลที่ดีที่สุด คือ ให้ผู้ป่วยนอนอยู่กับที่ห้ามเคลื่อนย้ายโดยไม่จำเป็น เพราะหากทำผิดวิธีอาจบาดเจ็บมากขึ้น ถ้าผู้ป่วยมีเลือดออกให้ห้ามเลือดไว้ก่อน หากมีอาการช็อกให้รักษาช็อกไปก่อน ถ้าจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยให้เข้าเฝือกชั่วคราว ณ ที่ผู้ป่วยนอนอยู่ ถ้าบาดแผลเปิด ให้ห้ามเลือดและปิดแผลไว้ชั่วคราวก่อนเข้าเฝือก สิ่งที่ควรระวังมากที่สุดคือกระดูกสันหลังหักหรือกระดูกต้นคอหัก ถ้าเคลื่อนย้ายผิดวิธี อาจทำให้ผู้ป่วยพิการตลอดชีวิต หรือถึงแก่ชีวิตได้ทันทีขณะเคลื่อนย้าย
           1. การซักประวัติ จะต้องซักประวัติเกี่ยวกับการได้รับอุบัติเหตุ เพื่อให้ทราบว่าเกิดได้อย่างไร ในท่าใด ระยะเวลาที่เกิด เพื่อประเมินความรุนแรงของแรงที่มากระทำ และตำแหน่งของกระดูกที่ได้รับบาดเจ็บ
           2. ตรวจร่างกาย โดยตรวจทั้งตัว และสนใจต่อส่วนที่ได้รับอันตรายมากก่อน โดยถอดเสื้อผ้าออก การถอดเสื้อผ้าผู้บาดเจ็บ ควรใช้วิธีตัดตามตะเข็บ อย่าพยายามให้ผู้บาดเจ็บถอดเอง เพราะจะทำให้เจ็บปวดเพิ่มขึ้นแล้วสังเกตอาการและอาการแสดงว่ามีการบวม รอยฟกช้ำ หรือ จ้ำเลือด บาดแผล ความพิการผิดรูป และคลำอย่างนุ่มนวล ถ้ามีการบวมและชามากให้จับชีพจรเปรียบเทียบกับแขนหรือขาทั้งสองข้าง ตรวจระดับความรู้สึก การเปลี่ยนแปลงสีผิว การตรวจบริเวณที่หัก ต้องทำด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจทำให้ปลายกระดูกที่หักเคลื่อนมาเกยกัน หรือทะลุออกมานอกผิวหนัง ขณะตรวจร่างกาย ต้องดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง ประเมินการหายใจและการไหลเวียนของเลือด สังเกตการตกเลือด ถ้ามีต้องห้ามเลือด หลีกเลี่ยงวิธีการห้ามเลือดแบบขันชะเนาะ เพราะถ้ารัดแน่นเกินไป อาจจะทำให้เลือดแดงไปเลี้ยงส่วนปลายไม่พอ ถ้ามีบาดแผลต้องตกแต่งแผลและพันแผล ในรายที่มีกระดูกหักแบบเปิดให้ใช้ผ้าสะอาดคลุมปิดไว้ แล้วพันทับ ห้ามดึงกระดูกให้เข้าที่
          3. การเข้าเฝือกชั่วคราว การดามบริเวณที่หักด้วยเฝือกชั่วคราวให้ถูกต้องและรวดเร็ว จะช่วยให้บริเวณที่หักอยู่นิ่ง ลดความเจ็บปวด และไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บเพิ่มขึ้น โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่าย เช่น ไม้ หรือกระดาษหนังสือพิมพ์พับให้หนา หมอน ร่ม ไม้กดลิ้น กระดาน เสา ฯลฯ รวมทั้งผ้าและเชือกสำหรับพันรัดด้วยไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจนกว่าจะเข้าเฝือกชั่วคราวให้เรียบร้อยก่อน ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้เลย ให้ใช้แขนหรือขาข้างที่ไม่หักหรือลำตัวเป็นเฝือกชั่วคราว โดยผูกยึดให้ดีก่อนที่จะเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
          4. การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ เพื่อเคลื่อนย้ายออกจากสถานที่มีอันตรายไปสู่ที่ปลอดภัยหรือโรงพยาบาล การเคลื่อนย้ายอย่างถูกวิธี จะช่วยลดความพิการและอันตรายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้

การปฐมพยาบาลกรณีผู้ที่เกิดข้อเคล็ด

1อย่างแรกเลยห้ามให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวบริเวณที่เกิดการพลิกโดยเด็ดขาด
2. หากอาการไม่หนักมากให้ใช้น้ำแข็งหรือผ้าเย็นประคบบริเวณที่เกิดการพลิก โดยประคบครั้งละ 20-30 นาที เพื่อกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนช้าลง
3. ห้ามใช้ยาหม่อง ครีมนวด หรือน้ำมันมวยเป็นอันขาดเพราะ     ตัวยาจะทำให้เกิดการกระตุ้นโลหิตให้ไหลเวียน และเป็นการเพิ่มอาการบวมให้มากขึ้น  
4. อีกวิธีหนึ่งที่แนะนำสำหรับการลดการบวมคือ ใช้ผ้าพันบริเวณที่พลิก แต่ผ้าที่พันควรเป็นผ้ายืดและไม่พันแน่นจนเกินไป
5. ยกเท้าให้สูงเข้าไว้ หรือหาเก้าอี้มาหนุนขาให้สูงขึ้น เพื่อลดอัตราการหล่อเลี้ยงของเลือดไม่ให้เข้าไปยังบริเวณที่บวมได้สะดวก ขณะที่ผู้ป่วยนอนก็ควรหาหมอนหรือท่อนไม้มาหนุนขาข้างที่มีอาการให้สูงกว่าระดับหัวใจ
6. หากผู้ป่วยมีอาการปวดมาก สามารถให้รับประทานยาแก้ปวดได้ แต่ไม่ควรให้รับประทานมาก หรือติดต่อกัน
7. หากผู้ป่วยพ้นระยะ 48 ชั่วโมงไปแล้ว ให้ใช้วิธีใช้ถุงน้ำร้อนประคบเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต หรืออาจใช้สลับกับการประคบเย็นด้วยก็ได้
8. หากมีอาการปวดหรือบวมมาก ให้รีบพาไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพราะอาจมีอาการของกระดูกแตกร่วมด้วย

การปฐมพยาบาลกรณีที่มีบาดแผล


บาดแผล แบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ ดังนี้
           1. แผลฟกช้ำ  
การปฐมพยาบาล
1.ยกและประคองส่วนที่บาดเจ็บให้อยู่ในท่าที่สบาย
2.ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบเบาๆบริเวณแผลช้ำ นานประมาณ 30 นาที แล้วใช้ผ้ายืดพันไว้ให้แน่นพอสมควร เพื่อให้เลือดหยุดและช่วยจำกัดการเคลื่อนไหว และให้บริเวณแผลช้ำนั้นอยู่นิ่งๆนาน 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นให้ประคบบริเวณแผลด้วยความร้อน เพื่อให้อาการบวมช้ำลดลง


          2. แผลถลอก เป็นบาดแผลตื้นๆ มีผิวหนังถลอกหรือรอยขูดข่วน มีเลือดออกเล็กน้อย และเลือดมักหยุดไหลเอง
การปฐมพยาบาล
 1.ห้ามเลือด ถ้าเลือดยังไหลไม่หยุด โดยใช้ผ้าสะอาดกดไว้เบาๆหรือใช้ผ้าพันแผลกดแผลไว้นิ่งๆ
 2.ล้างทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาด และเอาเศษผงต่างๆหรือกรวดดินออกให้หมด
 3.ใช้ผ้าชุบน้ำสบู่เช็ดรอบแผลเบาๆ อย่าให้แผลโดนสบู่เพราะจะทำให้ระคายเคือง
 4.ทำแผลด้วยยาใส่แผลสด เช่น เบตาดีน ไม่ต้องปิดแผล
          3. บาดแผลฉีกขาด  เป็นแผลที่เกิดจากวัตถุไม่มีคมที่มีความแรงทำให้ผิวหนังฉีกขาดได้ ขอบแผลมักขาดกะรุ่งกะริ่ง หรือมีการชอกช้ำของแผลมาก จะเจ็บปวดมาก มักจะมีการสัมผัสกับสิ่งปนเปื้อนได้มาก จึงมีแนวโน้มของการติดเชื้อสูง
การปฐมพยาบาล 
         1.ปิดแผลทันทีด้วยผ้าที่สะอาด กดไว้เบาๆหรือใช้ผ้าพันแผลกดแผลไว้นิ่งๆ เพื่อเป็นการห้ามเลือด
         2.ล้างทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาด และใช้แอลกอฮอล์เช็ดรอบๆแผล
         3.รีบนำส่งแพทย์เพื่อตกแต่งบาดแผล และเย็บแผล ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก และอาจต้องรับประทานยาแก้อักเสบ ถ้าแผลสกปรกมาก
        4. แผลถูกแทง เกิดจากวัตถุปลายแหลม เช่น มีดปลายแหลม กริช ไม้ ฯลฯ แม้ว่าปากแผลจะเล็ก แต่มักจะลึก ถ้าลึกลงไปถูกอวัยวะภายในที่สำคัญ เช่น ปอด หัวใจ ตับ ไต กระเพาะอาหาร ฯลฯ จะทำให้ตกเลือดภายในได้มา
การปฐมพยาบาล    
            ถ้าผู้ป่วยมีอาการเป็นลม หน้าซีด แสดงว่ามีเลือดตกใน อย่าตกใจให้ผู้ป่วยนอนราบ ศีรษะต่ำ ไม่ควรให้กินอะไรทั้งสิ้น รีบนำส่งโรงพยาบาลให้แพทย์ตรวจบาดแผลที่ถูกแทงว่าถูกอวัยวะสำคัญหรือไม่ และหากพบสิ่งหนึ่งสิ่งใดหักคาอยู่บนปากแผล อย่าพยายามดึงออก เพราะจะทำให้เลือดออกมากขึ้น หรือเพิ่มอันตรายต่ออวัยวะใกล้เคียง ควรใช้ผ้าสะอาดบางๆ คลุมไว้ และให้นอนนิ่งๆ แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด โดยจัดผู้ป่วยให้นอนราบขณะเคลื่อนย้าย
           5.  แผลถูกยิง เป็นแผลที่เกิดจากกระสุนปืน เห็นเป็นรอยกระสุนปืนเข้าและออก ซึ่งรูเข้าจะเล็กกว่ารูออก หรือกระสุนอาจฝังในก็ได้ มีอันตรายต่ออวัยวะภายในและอาจมีการตกเลือดภายในได้ ถ้ากระสุนเข้าไปถูกอวัยวะที่สำคัญภายใน

การปฐมพยาบาล 
          ให้ผู้บาดเจ็บนอนพักนิ่ง ๆ ยกปลายเท้าสูง ให้โลหิตไปเลี้ยงสมองมากที่สุด ห่มผ้าให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ไม่ควรให้ผู้บาดเจ็บกินอะไรทั้งสิ้น ถ้ามีเลือดออกมากต้องห้ามเลือด ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซและรีบส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

          6. แผลถูกตำ ส่วนมากเกิดจากวัตถุประเภทตะปู เข็ม หรือเข็มหมุด เศษแก้ว หนาม ทิ่มตำ ซึ่งปกติแผลประเภทนี้จะมีเลือดออกไม่มากนัก หรือแทบไม่เห็นเลือดไหลออกมาเลย และแผลเกือบจะปิดในทันที จึงทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เนื่องจากวัตถุที่ทำให้เกิดแผลอาจมีสปอร์ของเชื้อบาดทะยักหรือเชื้อโรคอื่นๆติดอยู่ โดยเฉพาะถ้าวัตถุนั้นเคยสัมผัสดินมาก่อน
การปฐมพยาบาล
            ให้ดึงของแหลมที่ทิ่มตำผิวหนังนั้นออก เช็ดด้วยแอลกอฮอล์ ปิดแผลด้วยผ้าที่สะอาด แล้วรีบนำส่งพบแพทย์ทันที เพื่อทำความสะอาดแผลที่อยู่ลึกลงไปใต้ผิวหนัง ชะล้างเอาสิ่งสกปรกออกให้หมด อาจต้องเปิดแผลให้กว้างขึ้น เพื่อไม่ให้แผลกลายเป็นแผลติดเชื้อ และต้องรับประทานยาแก้อักเสบพร้อมทั้งฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก

           7. บาดแผลถูกสัตว์กัดสัตว์ทุกชนิด (โดยเฉพาะสุนัข แมว หนู รวมทั้งคน) จะมีเชื้อโรคอยู่ในปาก เมื่อถูกกัดบาดแผลที่ลึกจะนำเชื้อโรคเข้าสู่เนื้อเยื่อได้มาก การปฐมพยาบาลจึงต้องทำทันที แล้วตามด้วยการรักษาของแพทย์

การปฐมพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษ/สารพิษที่พบบ่อย

การปฐมพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษ/สารพิษที่พบบ่อย
          1.พิษจากยาฆ่าแมลง ซึ่งจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง คือ ทางผิวหนัง การสูดหายใจเข้าไป การกิน หรือการฉีดเข้าสู่ร่างกาย
          การรักษาเบื้องต้น
การขจัดพิษออกจากร่างกาย หากพบว่ายังมีสารพิษตกค้างอยู่ตามเสื้อผ้า ร่างกาย ต้องรีบถอดออกและล้างทำความสะอาดทันที ในกรณีที่ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ล้วงคอเพื่อให้อาเจียน และให้ดื่มนมแล้วรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล
         2.พิษจากยานอนหลับ และยากดประสาท
ผู้ที่รับประทานยานี้อย่างเดียวเกินขนาดยังไม่ปรากฎอาการว่าเสียชีวิต
         การรักษาเบื้องต้น
 ดูแลระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วยให้โล่ง และช่วยหายใจในกรณีที่หายใจไม่เพียงพอกรณีผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ทำให้อาเจียน เพื่อป้องกันและลดการดูดซึมรีบนำส่งโรงพยาบาล พร้อมยาหรือภาชนะบรรจุ (กรณีหาได้)

การปฐมพยาบาลกรณีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย

           สิ่งแปลกปลอม หมายถึง เศษวัตถุ สารเคมี เมล็ดผลไม้ หรือวัตถุใดก็ตามที่เข้าสู่อวัยวะสำคัญของร่างกาย เช่น ตา หู คอ จมูกและกระเพาะอาหาร ซึ่งเมื่อเข้าไปค้างอยู่ภายในอวัยวะเหล่านี้แล้ว เป็นเหตุให้เกิดอันตรายขึ้น ซึ่งต้องให้การปฐมพยาบาลเพื่อนำสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ออกจากร่างกาย

การปฐมพยาบาล
กรณีสิ่งแปลกปลอมเข้าตาชนิดธรรมดา     คือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปในเปลือกตาหรือลูกตาทำให้เกิดความระคายเคือง  เจ็บตา   และสิ่งแปลกปลอมนี้อาจจะเคลื่อนที่ไปได้
 1.  อย่าขยี้ตา
 2.  ลืมตาในน้ำสะอาด หรือล้างตาด้วยน้ำอุ่น หรือน้ำยาบอริค 3% หรือน้ำเกลือ
 3.  ถ้ามองเห็นสิ่งแปลกปลอมอยู่ให้เปิดเปลือกตาขึ้น ใช้มุมผ้าบาง ๆ ที่สะอาดหรือใช้สำลีพันปลายไม้เขี่ยออก
4.   ถ้าสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ในเปลือกตาบน   ให้จับและดึงเปลือกตาบนด้วยนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้    พับหนังตาบนด้วยไม้พันสำลี   บอกให้ผู้บาดเจ็บมองลงต่ำจะเห็นบริเวณเปลือกตา และดวงตาจากนั้นใช้ผ้าสะอาดเขี่ยสิ่งแปลกปลอมออก
  5.   เมื่อสิ่งแปลกปลอมที่เข้าตาออกเรียบร้อยแล้วควรล้างตาด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำอุ่นปริมาณมากๆ

กรณีสิ่งแปลกปลอมเข้าตาชนิดฝังคาอยู่ในตา  
สิ่งแปลกปลอมลักษณะนี้จะเคลื่อนที่ไม่ได้  เช่น    สะเก็ดหิน   ผงเหล็ก   ซึ่งมีความแหลมคมฝังอยู่ในดวงตาส่วนใดส่วนหนึ่ง

การปฐมพยาบาล
1.
  อย่าขยี้ตาหรือพยายามเขี่ยสิ่งแปลกปลอมเอง
2.
   ให้หลับตาและใช้ผ้าก๊อซสะอาดปิดตาพันผ้าไว้เพื่อยึดไม่ให้เคลื่อนไหว
3.
  รีบนำส่งโรงพยาบาล

สิ่งแปลกปลอมเข้าหู (Foreign bodies in ears) 
          กรณีสิ่งแปลกปลอมประเภทเศษวัตถุ   ได้แก่ ก้อนหิน   ก้อนกรวด    เมล็ดพืช   ลูกปัด  กระดุม ฯลฯ    มักพบในเด็ก ๆ  ที่ใส่เข้าไปโดยไม่รู้ถึงอันตรายว่าเป็นอย่างไร   หรือเล่นกันและพบได้ในคนปัญญาอ่อน
การปฐมพยาบาล
1.   อย่าพยายามใช้นิ้วมือหรือไม้แคะหู  เพราะจะทำให้วัตถุเลื่อนลึกลงไป
2.   ให้เอียงหูข้างนั้นต่ำลง  หรือให้นอนตะแคงและกระตุกใบหูข้างนั้นมาก    วัตถุจะเลื่อนออกมาเองได้
3.    ถ้าวัตถุยังไม่ออกรีบส่งโรงพยาบาล
         กรณีสิ่งแปลกปลอมประเภทตัวแมลงต่างๆ   ได้แก่  ยุง  แมลงสาบ  ตัวหนอน  เห็บ เหา มักพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่  สิ่งแปลกปลอมเหล่านี้จะเคลื่อนที่ไปมาทำให้เกิดความรำคาญและเจ็บปวดอย่างมาก
อาการ  ผู้บาดเจ็บจะรู้สึกอื้อรำคาญ  การได้ยินอาจเสียไปเล็กน้อย ในเด็กมักจะเอามือจับบริเวณหูหรือแคะหู    แมลงบางชนิดเช่น   เห็บ  เหา   แมลงอื่นๆ  จะกัดทำให้มีเลือดออกหรือเจ็บปวดอย่างรุนแรง  อาการปวดหูอาจเกิดจากการอักเสบของช่องหู
การปฐมพยาบาล
        1. หยอดหูข้างนั้นด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำมันมะกอกจนเต็ม   เพื่อให้ตัวแมลงตาย   และลอยขึ้นมา  แต่ถ้าผู้บาดเจ็บมีประวัติว่าเป็นหูน้ำหนวกห้ามใช้น้ำหยอดเพราะจะทำให้เกิดการอักเสบ
        2. ใช้ไม้พันสำลีที่สะอาด  ทำความสะอาดหูข้างนั้น

        3. ถ้าแมลงนั้นตายและไม่ลอยขึ้นมา  อาจเป็นเพราะแมลงตัวใหญ่ ให้รีบส่งโรงพยาบาล

สิ่งแปลกปลอมติดคอ (Foreign bodies in throat)  
            สิ่งแปลกปลอมในปากและคอ  ในปากและคอจะพบสิ่งแปลกปลอมชนิดแหลมหรือมีคม   เช่น ก้างปลา    ไม้กลัด   ลวดเย็บกระดาษ สิ่งเหล่านี้จะติดที่บริเวณโคนลิ้น   ผนังคอ   ต่อมทอนซิลหรืออาจลึกลงไปถึงฝาปิดกล่องเสียง (Epiglottis)
กรณีเจ็บบริเวณคอเวลากลืนน้ำลายหรืออาหาร  รับประทานอาหารไม่ได้   ต่อมาอาการเจ็บอาจจะหายไปเนื่องจากสิ่งแปลกปลอมหลุดลงไปในกระเพาะอาหาร
กรณีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่กล่องเสียงและหลอดลม 
  สิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่กล่องเสียงและหลอดลม  มักจะเป็นวัตถุที่ลื่น  เช่น   เมล็ดพืช   กระดุม  เศษอาหาร  เหรียญต่างๆ ส่วนใหญ่สิ่งแปลกปลอมจะลงไปติดในหลอดลม   ถ้าติดในกล่องเสียงผู้บาดเจ็บจะหายใจขัด   ตัวเขียว  และเสียชีวิตได้
การปฐมพยาบาล
        1. ถ้าเป็นก้างปลาเล็ก ๆ ให้กลืนน้ำอึกใหญ่ ๆ ข้าวสุกเป็นก้อน ๆ ไม่ต้องเคี้ยว ขนมปังปอนต์หรือขนมสาลี  ก็อาจจะหลุดไปเองได้
        2. ถ้าไม่ออก  อย่าพยายามเขี่ยหรือดึงออก
        3. ถ้าเป็นเด็กเล็กๆ ให้ผู้ปฐมพยาบาลรีบจับลำตัวคว่ำ  ห้อยศีรษะลงต่ำแล้วตบกลางหลังแรงๆ  เพื่อให้ไอออกมา
        4. ถ้าเป็นเด็กโตหรือผู้ใหญ่   ให้ยืนก้มตัวลงมาก ๆ       ให้ห้อยหัวลง  ผู้ปฐมพยาบาลเข้าข้างหลังใช้แขนซ้ายสอดครั้งเอวไว้    ใช้มือขวาตบกลางหลังแรงๆ    อาจไอออกมาได้  หรือให้นอนคว่ำหรือตะแคงศีรษะต่ำ  ผู้ปฐมพยาบาลตบหลังผู้ป่วยระหว่างไหล่ทั้งสองข้างให้แรงพอสมควร   ถ้ายังติดอยู่หรือติดอยู่ลึก   ควรส่งปรึกษาแพทย์
        5. ถ้ามีการหายใจขัด   หรือหยุดหายใจให้ช่วยหายใจ


 สิ่งแปลกปลอมเข้าจมูก (Foreign bodies in nose)        
         มักพบในเด็กโดยการสอดใส่เข้าไปเอง วัตถุแปลกปลอมที่พบบ่อยๆ ได้แก่  ยางลบ  กระดุม   เมล็ดผลไม้   ข้าวเปลือก  ก้อนหิน  เป็นต้น
อาการ  ถ้าติดอยู่ในรูจมูก    ผู้บาดเจ็บจะมีอาการคัดจมูกมีน้ำมูกใส  ๆ และจามในระยะแรก  นาน ๆ เข้าจะมีสีเหลืองมีกลิ่นเหม็น   เป็นแผลมีหนองและมีเลือดออก   ส่วนใหญ่มักพบข้างเดียว   ในบางกรณีถ้าเป็นเศษเล็กและลื่น     อาจตกลงไปในกระเพาะอาหารหรือหลอดลม
การปฐมพยาบาล
         1. อย่าใช้นิ้วหรือไม้แคะออก   เพราะจะทำให้วัตถุนั้นเลื่อนลงไปอีก
         2. ให้ปิดจมูกข้างหนึ่งแล้วสั่งแรง ๆ   วัตถุนั้นก็อาจจะหลุดออกมาได้
         3. ถ้าวัตถุนั้นอยู่ลึกมาก    สั่งไม่ออก  ให้รีบปรึกษาแพทย์  เพราะแพทย์จะได้ช่วยเอาออกโดยใช้เครื่องมือที่งอเป็นตะขอ (Nasal hook)   เขี่ยออก